วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน เวลา 13.00 น.




เรื่องที่เรียนในวันนี้  




การแกะตัวปั๊มจากยางลบ


พี่ให้อธิบายที่มาของการแกะตัวปั๊มจากยางลบให้ฟัง 

ซองอุปกรณ์การแกะตัวปั๊มน่ารักมากเลย ><

อุปกรณ์การแกะตัวปั๊ม มีมีดแกะ เขียงแกะ ยางลบ ดินสอ2 บี  สมุดลายต่างๆและกระดาษลอกลาย ^^ 


ขั้นตอนการทำ



 1. เลือกลายแกะแล้วนำกระดาษลอกลายมาวาดตามลายให้สวยงามตามลาย



2. นำกระดาษลอกลายที่มีลายที่วาดเสร็จแล้ว นำมาวางไว้บนยางลบและใช้นิ้วถูตามลายวาด



3. ใช้มีดแกะ แกะตามลายวาดให้สวยงาม เวลาแกะให้หมุนตัวยางลบแทนการมุนข้อมือ



4. ให้ตัดรอบๆ ที่เหลือของลายออก และใช้มีดกรีดส่วนเกินของลายออกให้ลายนูนขึ้นมาจากยางลบ



5. นำตัวปั๊มมาปั๊มกับสีที่ต้องการ



6. นำตัวปั๊มที่ปั๊มสีแล้วมาปั๊มใส่กระดาษ จะได้ลายตามที่เราวาด



ผลงานการแกะตัวปั๊มของเพื่อนๆ สวยทุกคนเลยค่ะ ^ 0 ^


ความรู้ที่ได้รับ

ทำให้รู้วิธีการการแกะตัวปั๊มจากยางลบว่าสามารถทำได้ด้วยตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ได้รู้ว่าการแกะตัวปั๊มนั้นสามารถทำได้ง่ายและใช้เวลาไม่นานขึ้นอยู่กับความชำนาญในการแกะลายของแต่ละคน  ทำให้สามารถนำไปทำต่อเป็นการประกอบอาชีพพิเศษอย่างหนึ่งได้ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับตนเองและผู้อื่นด้วย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้  


สามารถนำไปใช้ในการทำตัวปั๊มเมื่อเราต้องการตัวปั๊มแบบไหนก็สามารถทำขึ้นมาเองได้ และนำไปสอนคนอื่นต่อได้เพื่อให้รู้จักการแกะตัวปั๊มกันมากขึ้น และยังนำไปทำตัวปั๊มในการเรียนการสอนได้อีกด้วยค่ะ

การประเมินผล   


ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังพี่ที่มาสอนแกะตัวปั๊มอย่างตั้งใจ  และสังเกตวิธีการแกะอยู่เสมอ สามารถแกะตามลายได้ดี อาจยังไม่สวยตามที่ต้องการ  แต่จะนำไปฝึกแกะเสมอ เพราะรู้สึกเพลิดเพลินสนุกสนานและช่วยเหลือเพื่อนในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ  ตั้งใจทำและคอยฟังเมื่อพี่หรืออาจารย์ให้คำแนะนำ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจฟังพี่ที่มาสอนแกะตัวปั๊ม และปฏิบัติตามกันอย่างมุ่งมั่น ให้ความสนใจกับการแกะตัวปั๊มมากค่ะ และคอยช่วยเหลือกันและกัน  ร่วมกิจกรรมเล่นเกมด้วยกันอย่างสนุกสนาน และมีผลงานที่สวยงามทุกคนเลยค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์คอยเดินดูนักศึกษาอยู่เสมอในขณะพี่สอนและในขณะทำอาจารย์จะคอยเดินดูนักศึกษาว่าทำเป็นอย่างไรบ้าง  และอาจารย์ก็แกะตัวปั๊มได้สวยด้วยค่ะ คอยพูดคุย ให้คำแนะนำกับนักศึกษาอยู่เสมอ วันนี้อาจารย์มาสอนแบบสบายๆ มากค่ะ :D








วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน เวลา 12.30 น.



เรื่องที่เรียนในวันนี้  


สื่อ ลูกเจี๊ยบทายเลข


ลูกเจี๊ยบทายเลข

ขั้นตอนการทำ

1. นำกระดาษสีมาติดตามแกนกระดาษทิชชู่
2. วาดรูปส่วนประกอบปีก ขา ปาก และตาของลูกเจี๊ยบให้สวยงาม
3. นำส่วนประกอบมาติดกับแกทิชชู่ให้สวยงาม
4. ตัดกระดาษสีเป็นเส้นๆ เพื่อทำเป็นผลของลูกเจี๊ยบและนำมาติดส่วนบนของแกนทิชชู่
5. เขียนตัวเลขลงบนกระดาษและตัดออกมาติดกับหลอด
6. นำหลอดที่ติดตัวเลขเสร็จมาใส่ไว้ในแกนกระดาษทิชชู่ให้เรียบร้อย

สื่อนี้เป็นสื่อเกมการศึกษา  โดยให้เด็กจำตัวเลขที่ติดกับหลอด และหยิบตัวเลขขึ้นมาทายว่าเลขนี้คือเลขอะไร หรือจะเขย่าให้ตัวเลขหล่นลงมือ และให้เด็กทายก็ได้ค่ะ

สื่อชิ้นนี้ืทำมาจากแกนกระดาษทิชชู่

ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ด้านร่างกาย  คือ เป็นการบริหารกล้ามเนื้อมือของเด็กในการจับแกนกระดาษทิชชู่ทายตัวเลขกัน

ด้านอารมณ์  คือ เด็กจะมีความสนุกสนานกับการทายตัวเลข จะทำให้เด็กอารมณ์ดีเมื่อได้ทายเลข
กับเพื่อนๆ และจะมีความตื่นเต้นในการใช้สื่อนี้ด้วยค่ะ

ด้านสังคม    คือ  เด็กได้ร่วมทายตัวเลขด้วยกัน ได้ใช้ความคิดของตนเองและรับฟังความคิด
ของผู้อื่นได้

ด้านสติปัญญา คือ  เด็กจะได้ใช้ความคิดเรื่องการจำตัวเลข ได้ฝึกสมาธิ  และสติปัญญาของตนเอง

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้จักการทำสื่อต่างๆ จากวัสดุเหลือใช้ สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลายอย่าง ทำให้เป็นสื่อเกมการศึกษาสำหรับการสอนเด็กได้ในเรื่องต่างๆ และยังสามารถพัฒนาด้านต่างๆ ของเด็กได้ด้วย และเป็นการทำสื่อที่สามารถทำได้ง่าย  และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ด้วยค่ะ 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


สามารถนำสื่อไปสอนเด็กได้ในการเรียนเพราะสื่อเกมการศึกษานี้จะทำให้เด็กได้ฝึกสมาธิ  สติปัญญาได้ด้วย  นอกจากนั้นยังนำไปสอนให้เด็กรู้จักการใช้วัสดุเหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ด้วยค่ะ

การประเมินผล


ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์ในขณะทำสื่อ และสามารถทำสื่อของตนได้ตามต้องการ ให้ความช่วยเหลือเพื่อนในการทำสื่อ ภูมิใจกับสื่อที่ทำจากวัสดุเหลือใช้มากค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจทำสื่อของตนเองและคอยช่วยเหลือกันและกัน  สื่อของเพื่อนๆ ออกมาสวยงามและเป็นประโยชน์ในการสอนแต่ละเรื่องที่แตกต่างกันไปค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้คำแนะนำการทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้ตลอดในการทำ ทำให้มีความสร้างสรรค์ขึ้นเรื่อยๆค่ะ และอาจารย์จะเตรียมอุปกรณ์ไว้สำหรับทำสื่อไว้ให้ เพื่อให้นักศึกษาที่ไม่มีอุปกรณ์อะไรให้นำไปใช้ได้



การเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันพุธที่ 28 ตุลาคม เวลา 12.30 น.



เรื่องที่เรียนในวันนี้  


อาจารย์อธิบายการทำชาร์ตเพลง

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้ว่าการทำชาร์ตเพลงนั้นควรเลือกเพลงที่มีรูปภาพประกอบเพลงได้ด้วย จะเป็นการสอนภาษาธรรมชาติให้กับเด็ก เด็กจะสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้น เพลงนั้นควรจะมีทั้งภาพและคำอยู่ด้วยกันได้ด้วย

ชาร์ตเพลงแบบต่างๆ


สื่อชิ้นที่ 1 ชาร์ตเพลงสำหรับเด็ก ( เพลง โอ้...ทะเลแสนงาม)

เพลง โอ้..ทะเลแสนงาม ^^


ขั้นตอนการทำ

1. เลือกเพลงที่ต้องการจะทำ
2. วัดกระดาษให้ได้ประมาณ 5 นิ้ว แล้วตัดออก
3. วัดขอบใน เหลือขอบบนและขอบล่าง ด้านละ 1 นิ้ว 
4. เขียนเนื้อเพลง และวาดภาพประกอบคำอย่างสวยงามลงกระดาษ
5. ระบายสีภาพให้สวยงาม 
6. ติดกระดาษกาวสีที่เตรียมตามขอบกระดาษด้านหน้า ด้านข้างให้เรียบร้อย

ตั้งใจระบายสีมากเลยค่ะ ><

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้วิธีการทำชาร์ตเพลงที่ถูกต้องว่าควรเลือกเพลงที่มีภาพประกอบอยู่ด้วย และควรมีทั้งภาพและคำอยู่ในเนื้อเพลงด้วยกัน รู้ว่าสื่อสามารถนำไปสอนเด็กร้องเพลง ทำให้เด็กเข้าใจเนื้อหาเพลงได้มากขึ้นด้วย

สื่อชิ้นที่ 2 หนังสือคำศัพท์



ขั้นตอนการทำ

1. นำกระดาษ A4 มาพับครึ่งตามจำนวนหน้าที่ต้องการ
2. คิดพยัญชนะ สระ และกำหนดว่าควรวางคำตรงไหน
3. เขียนคำลงในกระดาษ
4. ตัดส่วนพยัญชนะ หรือ สระที่เลือกไว้หน้าสุดท้าย
7. วาดรูประบายสีภาพประกอบให้สวยงาม และนำมาเย็บเล่มรวมกัน

ความรู้ที่ได้รับ

ทำให้ได้รู้จักการคิดพยัญชนะหรือสระที่เหมือนกันได้ รู้ว่าสื่อสามารถสอนเด็กได้ในเรื่องพยัญชนะหรือสระต่างๆ  จะได้รู้จักคำที่หลากหลายขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้


นำสื่อไปใช้ได้ในการสอนเด็ก เช่น  การสอนเด็กร้องเพลง การสอนเด็กให้รู้จักพยัญชนะและสระนั้นๆ
รู้จักใช้สื่อที่ถูกต้องและเหมาะสมกับเนื้อหา  และทำสื่อได้ถูกต้องกับการที่จะนำไปสอนเด็ก

การประเมินผล


ประเมินตนเอง

ตั้งใจและสนใจในขณะที่อาจารย์สอนทำสื่ออยู่เสมอ สามารถทำสื่อได้ถูกต้องและสวยงามตามที่ต้องการ  ช่วยเหลือและออกความเห็นร่วมกับเพื่อนๆ ในกลุ่มได้ดี และภูมิใจกับสื่อที่ทำด้วยค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนทำสื่อ และสามารถทำสื่อกันได้เหมาะสมและสวยงามค่ะ ให้ความร่วมมือในการทำงานเป็นกลุ่มได้ดี  

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ได้ให้คำแนะนำการทำสื่อ การสอนทำสื่อได้ละเอียดมากค่ะ ทำให้เข้าใจได้ง่าย สามารถทำตามที่อจารย์สอนได้ และอาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อแต่ละชิ้นได้ดีมากค่ะ




การเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันพุธที่ 21 ตุลาคม เวลา 12.30 น


             

 เรื่องที่เรียนในวันนี้ 




สื่อเกมการศึกษา



 สื่อชิ้นที่ 1 สื่อภาพตัดต่อ




ขั้นตอนการทำ

1. นำภาพที่ต้องการไปถ่ายเอกสารขนาด A3
2. ระบายสีภาพให้สวยงาม
3. ตัดภาพเป็นออกจากกันแยกเป็นกี่ชิ้นก็ได้ตามความต้องการ
4. ตัดเสร็จให้นำแต่ละชิ้นไปติดกับกระดาษแข็ง
5. นำชิ้นส่วนแต่ลภาพไปเคลือบสติ๊กเกอร์ใส

วิธีการใช้สื่อ 

ให้ต่อชิ้นส่วนของภาพตามภาพแบบเดิมให้ถูกต้อง

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้จักการทำสื่อที่่สามารถฝึกการสังเกตและความรู้ได้ สามารถนำไปใช้ในฝึกสมาธิเด็กได้ในการเรียนการสอน


สื่อชิ้นที่ 2 จับคู่ภาพเหมือน




ขั้นตอนการทำ

1. เตรียมภาพรูปที่เหมือนกันมา 2 แผ่น
2. ระบายสีภาพที่จะให้เหมือนกัน 2 แผ่น และระยายภาพที่ไม่เหมือนด้วยไว้เป็นตัวหลอกสำหรับเด็ก
3. ตัดภาพออกทีละชิ้น และนำไปติดกระดาษแข็ง
4. นำชื้นส่วนภาพเคลือบสติ๊กเกอร์ใส

วิธีการใช้สื่อ

ให้จับคู่ภาพที่เหมือนกัน

ความรู้ที่ได้รับ

รู้วิธีการทำสื่อที่เป็นประโยชน์สำหรับเด็ก ทำให้เด็กได้รู้จักการจับคู่ภาพที่เหมือนกันมากขึ้น

สื่อชิ้นที่ 3 จับคู่ภาพเงา




ขั้นตอนการทำ

1. เลือกภาพที่เหมือนกัน 2 แผ่น
2. ระบายสีภาพแผ่นที่ 1 ให้สวยงาม ระบายสีภาพแผ่นที่ 2 ด้วยสีดำ หรือ จะนำไปถ่ายเอกสาร
3. ตัดภาพทั้ง 2 แผ่น ทีละภาพ
4. นำชิ้นส่วนแต่ละภาพติดกระดาษแข็งและไปเคลือบสติ๊กเกอร์ใส

วิธีการใช้สื่อ

จับคู่ภาพสีกับภาพเงาที่เหมือนกัน

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้วิธีการทำสื่อที่เป็นการจับคู่ภาพกับเงา ทำให้เป็นสื่อที่ทำให้เด็กได้ใช้ความจำและการสังเกตภาพ


สื่อชิ้นที่ 4 การสังเกตรายละเอียด





ขั้นตอนการทำ

1. เลือกภาพที่ต้องการและระบายสีภาพให้สวยงาม
2. ระบายสีส่วนประกอบของภาพนั้นให้สวยงาม
3. ตัดส่วนประกอบภาพทีละภาพ
4. นำชิ้นส่วนภาพและตัวแบบภาพไปติดกระดาษแข็งและเคลือบสติ๊กเกอร์ใส

วิธีการใช้สื่อ

ให้เด็กสังเกตภาพต้นแบบว่ามีอะไรบ้างในภาพนั้น แล้วนำส่วนประกอบของภาพนั้นไปวางใต้ภาพนั้น

ความรู้ที่ได้รับ

รู้จักการทำสื่อที่เป็นการสังเกตรายละเอียดของภาพได้ ทำให้รู้วิธีการใช้ของสื่อนั้น


สื่อชิ้นที่ 5 การจัดหมวดหมู่





ขั้นตอนการทำ

1. ระบายสีภาพทุกรูปและตัดภาพทีละชิ้นโดยให้มีหมวดหมู่เดียวกันและต่างกันผสมอยู่ด้วย
2. นำชิ้นส่วนภาพไปติดกระดาษแข็งและเคลือบสติ๊กเกอร์ใส

วิธีการใช้สื่อ

ให้เด็กแยกหมวดหมู่ของแต่ละภาพว่ามีภาพไหนที่อยู่หมวดหมู่เดียวกันบ้าง

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้ว่าสื่อจะทำให้เด็กรู้จักการสังเกตภาพหมวดหมู่ที่เหมือนกันได้มากขึ้น เด็กจะมีความคิดและสมาธิที่ดีขึ้นในการใช้สื่อนี้


การนำไปประยุกต์ใช้

การทำสื่อเกมการศึกษาทั้ง 5 อย่างนี้ สามารถนำไปใช้ได้ในการสอนเด็กได้หลากหลาย เพราะสื่อเกมการศึกษานี้จะทำให้เด็กได้ทั้งความรู้ ความคิด ความจำ การสังเกต และฝึกสมาธิให้กับเด็กได้เพื่อพัฒนาในด้านต่างๆสำหรับเด็ก  จะใช้สื่ออย่างเหมาะสมและตรงกับเรื่องที่ต้องการจะสอนเด็ก

การประเมินผล  

ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังที่อาจารย์อธิบายการทำสื่อ และสามารถทำสื่อได้ถูกต้องและสวยงาม ช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม และรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆ ให้ความสนใจกับงานที่ทำ และรับฟังคำแนะนำของอาจารย์เสมอ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนทำสื่อ และทำงานกันอย่างตั้งใจ ช่วยเหลือกันและกัน และให้ความร่วมมือกัน ทำให้งานของแต่ละกลุ่มออกมาดีและเป็นที่น่าพอใจ แต่ระยะเวลาในหารทำอาจไม่พอในการทำสื่อทั้ง 5 อย่าง เลยต้องนำกลับไปทำต่อที่บ้าน  แต่ทุกคนก็ตั้งใจทำกันเต็มที่ค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนการทำสื่ออย่างละเอียด และอธิบายใหม่เมื่อนักศึกษาบางคนยังไม่เข้าใจ และจะคอยให้คำปรึกษาอยู่เสมอ อาจารย์จะเดินมาดูและช่วยเหลือในขณะทำสื่อ ซึ่งทำให้เข้าใจและทำสื่อได้ถูกต้องค่ะ




การเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันพุธที่ 14 ตุลาคม เวลา 12.30 น


เรื่องที่เรียนในวันนี้ 


อาจารย์อธิบายการทำสื่อ

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้วิธีการทำสื่อที่สามารถขยับ หมุน เคลื่อนไหวได้และสื่อที่ทำจะสามารถนำไปเล่านิทาน หรือสอนเด็กในเรื่องต่างๆ ได้ด้วย

สื่อชิ้นที่ 1 


ครอบครัวสุขสันต์

ขั้นตอนการทำ


1. เลือกภาพที่ต้องการและระบายสีให้สวยงาม
2. ระบายสีวงล้อและตัดตามรอยปะ
3. ทำวงล้อและนำไปไว้ตรงกลางวงเพื่อสำหรับหมุนได้
4. ติดวงล้อกับกับกระดาษพื้นหลัง
5. นำวงล้อมาติดกับภาพที่ระบายสีไว้ และนำพื้นหลังอีกส่วนมาติดเฉพาะส่วนบนของภาพจะสามารถเปิด - ปิดวงล้อ และจะหมุนวงล้อได้

วิธีการใช้สื่อ

ให้หมุนวงล้อทางขวาบนตามที่ต้องการจะใช้ในการสอนหรือการเล่าภาพนั้น

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้จักการทำสื่อที่สามารถนำไปสอนในเรื่องต่างๆ ได้ เช่น อาชีพต่างๆ  ฤดูต่างๆ  หรือจะเรื่องที่ต้องการสอนให้เด็กรู้จากภาพ

สื่อชิ้นที่  2


เลี้ยงสัตว์สุขใจ

ขั้นตอนการทำ

1. ระบายสีภาพที่ต้องการให้สวยงาม
2. ระบายสีชิ้นส่วนต่างๆ ที่ใช้ขยับและตัดออก
3. นำชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไปติดกับกระดาษแข็ง
4. เจาะรู และติดเส้นเอ็นเข้ากับชิ้นส่วนและติดภาพพื้นหลังให้แน่น

วิธีการใช้สื่อ

ขยับเส้นเอ็นไปมาด้านหลังของตัวที่จะให้ขยับได้

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้จักการทำสื่อที่ใช้ขยับไปมาได้ สามารถนำสื่อไปเล่านิทานให้เด็กๆ ฟังได้

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไปเป็นสื่อการสอนได้ เช่น การเล่านิทาน สื่อที่เลื่อนได้เป็นสื่อที่น่าสนใจสำหรับเด็กมาก จะทำให้เด็กสนใจมากขึ้นและตื่นเต้นกับส่วนที่เคลื่อนไหวได้ และเด็กจะตั้งใจและรับฟังการสอนได้ดีด้วย

การประเมินผล


ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังในขณะอาจารย์อธิบายการทำสื่อ  สามารถทำสื่อได้แบบตามที่ต้องการและออกมาถูกต้อง สวยงาม อาจมีการผิดพลาดในการเจาะรู แต่ก็สามารถผ่านไปได้ค่ะ ช่วยเหลือและและให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆ ในกลุ่มอยู่เสมอ รู้สึกภูมิใจกับสื่อของตนเองมากค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ฟังอาจารย์สอนทำสื่ออย่างตั้งใจ และตั้งใจทำสื่อกันทุกกลุ่มอย่างสนุกสนาน และสื่อของเพื่อนๆ ออกมาถูกต้อง และสวยงามมากค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนทำสื่อได้เข้าใจง่ายและละเอียดมากค่ะ ทำให้สามารถทำตามได้ คอยให้คำแนะนำระหว่างที่ทำสื่ออยู่เสมอ

การเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันพุธที่ 7 ตุลาคม เวลา 12.30 น


เรื่องที่เรียนในวันนี้  



สื่อชิ้นที่ 1 ช้างน้อยบนดวงจันทร์



ช้างน้อยบนดวงจันทร์

ขั้นตอนการทำ 


1. ออกแบบสื่อว่าต้องการรูปแบบใด
2. ตกแต่งสื่อให้สวยงามตามที่ต้องการ
3. เจาะรูสอดใส่เอ็นและมัดให้แน่นตามจุดที่ต้องการให้ขยับได้

วิธีการใช้สื่อ

ดึงเส้นเอ็นไปมาข้างหลังภาพและสามารถเล่าเรื่องประกอบการใช้ได้

ความรู้ที่ได้รับ


ได้รู้จักการทำสื่อแบบที่สามารถเคลื่อนไหวได้โดยใช้เส้นเอ็นในการขยับจุดที่เคลื่อนไหว สามารถนำไปเป็นสื่อประกอบการสอนให้เด็กๆ ได้ค่ะ


สื่อชิ้นที่ 2 โลมาเล่นน้ำทะเล


โลมาเล่นน้ำทะเล



ขั้นตอนการท


1. ออกแบบสื่อตามที่ต้องการ 
2. วาดภาพพื้นหลังสื่อให้สวยงามโดยใช้กระดาษแข็ง และออกแบบตัวสื่อที่ใช้ขยับใส่กระดาษอีกอัน
3. ตัดกระดาษทำฐานเพื่อใช้ขยับไปมา และนำตัวสื่อที่จะขยับมาติดกับกระดาษที่จะใช้ติดกับฐาน
4. นำตัวสื่อที่ติดกับกระดาษมาติดกับฐานที่เตรียมไว้ และนำฐานไปแปะกับพื้นหลังที่ทำไว้เสร็จแล้ว

วิธีการใช้สื่อ

ขยับฐานไปมาและตัวสื่อจะเคลื่อนไหว

ความรู้ที่ได้รับ


ได้รู้จักการทำสื่อที่สามารถเคลื่อนไหวได้อีกแบบ ใช้ได้ในการเล่านิทาน เป็นสื่อที่สามารถทำได้ง่ายและเป็นประโยชน์ เป็นที่น่าสนใจสำหรับเด็กมากค่ะ

การนำไปประยุกต์ใช้


นำไปใช้ทำสื่อสำหรับการสอนเด็กได้โดยการเล่านิทานหรือเป็นความรู้ให้เด็กในเรื่องที่ต้องการจะสอนเด็ก สามารถทำให้เด็กสนใจและเข้าใจการเรียนได้ดีขึ้น

การประเมินผล


ประเมินตนเอง

วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และเข้าใจกับงานที่ได้รับมอบหมาย สามารถทำงานได้ตามที่อาจารย์สอนแต่อาจออกไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าไหร่ค่ะ  แต่จะนำไปแก้ไขให้สวยงามมากว่าเดิม คอยให้รับฟังคำแนะนำเมื่ออาจารย์บอกในขณะทำงาน และสนใจให้ความร่วมมือกับเพื่อนๆ ในกลุ่มอยู่เสมอ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและสามารถทำงานได้ออกมาสวยงามกันทุกกลุ่ม ให้ความช่วยเหลือกันและกันในขณะทำงานอยู่เสมอ  

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนทำสื่อทุกชิ้นได้ละเอียด และเข้าใจได้ง่ายมากค่ะ สามารถทำได้ตามที่อาจารย์สอน และอาจารย์จะคอยเดินดูและสนใจในขณะที่ทำงานอยู่เสมอ ให้คำแนะนำในการสื่อที่ดีและถูกต้อง ทำให้นักศึกษาทุกคนสามารถทำสื่อได้ตามแบบอย่างและสวยงาม

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้ครั้งที่ 3 วันพุธที่23 กันยายน เวลา 12.30 น

เรื่องที่เรียนในวันนี้  



สื่อชิ้นที่  1 


ดอกไม้จากกระดาษทิชชู่แบบที่ 1



ขั้นตอนการทำ

1. นำกระดาษทิชชู่ดึงออกมา 1 แผ่น แล้วพันจับกลีบไปเรื่อยๆ จนสุดกระดาษแล้วจับ    เป็นช่อและใช้เส้นด้ายขาวมัด 
2. ใช้กระดาษทิชชู่เพิ่มขึ้นเป็น 2 แผ่น แล้วพันจับกลีบแบบเดิมไปเรื่อย ๆ จนสุดและมัด
จะได้ดอกที่ใหญ่ขึ้น
3. ใช้กระดาษทิชชู่เพิ่มกระดาษมากขึ้นเรื่อยๆ จะได้ดอกใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ มัดด้วยด้ายขาว
4. นำกระดาษสีเขียวมาพับตัดครึ่ง และทำเป็นใบไม้ นำเทปพันสีเขียวมาพันก้านและนำใบไม้มาติดไว้และพันเข้าด้วยกัน ก็จะได้เป็นดอกกุกลาบสวยงาม

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้จักประดิษฐ์ดอกไม้จากกระดาษทิชชู่ว่าสามารถทำเป็นดอกไม้ได้ตามที่เราต้องการ และสามารถนำไปตกแต่งเพิ่มเติมจัดบอร์ดงานต่างๆให้สวยงามได้อีกด้วย


สื่อชิ้นที่  2



ดอกไม้จากกระดาษทิชชู่แบบที่ 2


ขั้นตอนการทำ     

1. นำกระดาษทิชชู่ดึงออกตามความยาวที่ต้องการ และพับครึ่งเป็นแนวนอน
2. ใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวไปเรื่อยๆ จนสุด
3. นำมาพันกับก้านที่เตรียมไว้ จะพันแบบไหนก็ได้ตามที่เราต้องการให้ดอกไม้ออกมาเป็นลักษณะแบบใด และติดกาวที่เมื่อพันจนสุดกระดาษ จะได้ดอกไม้ที่สวยงามในแบบของแต่ละคน

ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้การทำดอกไม้อีกแบบหนึ่งที่สามารถทำได้ง่ายและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย

การนำไปประยุกต์ใช้

นำไปประดิษฐ์ดอกไม้ไว้ใช้การในชีวิตประจำวัน เช่น การตกแต่งบอร์ดงานต่างๆ ได้  สอนเด็กๆ หรือ เพื่อนๆ ต่อได้  และเป็นสื่อในการสอนเรื่องดอกไม้ได้ค่ะ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง

วันนี้ทำสื่ออย่างตั้งใจ และสนใจฟังที่อาจารย์ ทำสื่อได้สำเร็จและออกมาค่อนข้างดี แต่จะทำให้สวยงามมากกว่านี้ค่ะ  รู้สึกภูมิใจที่สามารถทำสื่อจากสิ่งของเหลือใช้ได้ค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจฟังอาจารย์ในการสอนทำสื่อ และตั้งใจทำสื่อกัน ช่วยกันและกัน มีน้ำใจ และทำสื่อกันอย่างสนุกสนานมากค่ะ 

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนทำสื่อได้เข้าใจง่าย และให้คำปรึกษาในการทำอยู่เสมอ คอยเดินดูและช่วยเหลือนักศึกษา
และให้ความรู้ในการทำสื่อด้วยค่ะ 


การเรียนรู้ครั้งที่ 2 วันพุธที่ 16 กันยายน เวลา 12.30 น.



เรื่องที่เรียนในวันนี้  



สื่อชิ้นที่ 1 นกฮูกหลากสี


นกฮูกหลากสี


การทำสื่อชิ้นนี้คือ

1.  นำภาพมาระบายสีให้สวยงาม
2.  กรีดปากตามรอยปะ
3.  พับปากให้ปากสามารถขยับอ้าได้
4.  นำไปแปะกับกระดาษสีโดยเว้นช่วงปากไว้ให้ขยับ


ความรู้ที่ได้รับ

ทำให้ได้รู้จักการประดิษฐ์สื่อชิ้นนี้ได้ สามารถนำไปเป็นสื่อการเล่านิทานได้เป็นเรื่องๆ ตามเรื่องที่ต้องการ โดยการทำเป็นรูปต่างๆ แล้วนำมาต่อกันเป็นนิทานได้ค่ะ




สื่อชิ้นที่ 2 แม่ไก่ขายาวออกไข่



สื่อแม่ไก่ขายาวออกไข่


การทำสื่อชิ้นนี้คือ

1. นำภาพมาระบายสีให้สวยงาม
2.  กรีดตูดไก่ให้กว้างพอประมาณ ที่จะให้แม่ไก่ออกไข่ออกมาได้      
3.  วาดรูปไข่ตรงกระดาษเว้นว่าง วาดกี่ฟองก็ได้ตามที่ต้องการ
4.  ตัดส่วนที่วาดไข่ออกแล้วพับเข้าใส่ตูดแม่ไก่ แล้วค่อยๆ ดึงกระดาษให้ไข่ออกมา

ความรู้ที่ได้รับ

ทำให้ได้รู้จักการทำสื่อชิ้นนี้และสามารถเป็นการสอนเด็กในเรื่องต่างๆ ได้ เช่น เรื่องสีตามวัน โดยการระบายสีไข่เป็น 7 สีตามวันต่างๆ และสอนเด็กว่าวันนี้แม่ไก่ออกไข่เป็นสีอะไร หรือจะเป็นการสอนการเติบโตของไก่ โดยการวาดเป็นไข่ ไข่แตกออกมาเป็นลูกเจี๊ยบได้เช่นกันค่ะ 

สื่อชิ้นที่ 3 ดอกไม้จากกระดาษ



ดอกไม้จากกระดาษสี


การทำสื่อชิิ้นนี้คือ

1. นำกระดาษมาพับครึ่งแล้วตัด พับเป็นรูปสามเหลี่ยมไปเรื่อยๆ 
ให้ครบตามจำนวนดอกที่ต้องการ
2. ตัดกลีบดอกไม้ตามที่ต้องการให้ครบแล้วคลี่ออก
3. วาดรูปเกสรดอกไม้ และนำดอกไม้มาติดกาว ให้ครบทุกดอกโดยมี1ดอกที่อยู่ตรงกลาง
4. นำกระดาษ 1 แผ่น ทำเป็นปกแล้วนำดอกไม้ที่ติดเสร็จแล้วมาติดแล้วพับไว้
ให้กาวติดกับกระดาษแล้วเปิดออกจะได้ดอกไม้ที่สวยงาม

ความรู้ที่ได้รับ

สามารถทำดอกไม้จากกระดาษได้อย่างสวยงามและนำไปใช้ในการตกแต่งงานต่างๆหรือการประดิษฐ์สื่อต่างๆได้

การนำไปประยุกต์ใช้


ประดิษฐ์สื่อทั้ง 3 ได้ แล้วนำไปใช้ทำสื่อในการสอนเด็กๆ  เช่น การนำสื่อนกฮูกหลากสี เล่านิทานได้ สื่อไม่ไก่ออกไข่ สอนเรื่อง สีของแต่ละวัน และสื่อดอกไม้สามารถนำไปตกแต่งจัดบอร์ดในงานต่างๆ ได้ค่ะ

การประเมินผล


ประเมินตนเอง

วันนี้ทำสื่อทั้ง 3 ชิ้นอย่างตั้งใจ และพยายามทำให้ออกสื่อออกมาดีและสวยงาม สามารถนำไปใช้งานได้จริง แต่สื่อดอกไม้อาจมีผิดพลาดในการติดกาวผิดที่ ทำให้ดอกไม้ติดกันมากเกินไป แต่จะนำไปแก้ไขให้สามารถเป็นดอกไม้ที่สวยงามและถูกต้องได้ดีขึ้นค่ะ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ ตั้งใจทำสื่อของตนเอง และคอยช่วยเหลือกันและกัน ปรึกษากันได้อยู่เสมอ และตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์อยู่เสมอค่ะ

ประเมินอาจารย์

อาจารย์สอนทำสื่ออย่างตั้งใจ และเข้าใจได้ง่าย คอยเดินดูและให้คำแนะนำในการทำสื่ออยู่เสมอ ให้ความช่วยเหลือในเรื่องอุปกรณ์การทำสื่อ และการทำสื่อผิดพลาดอาจารย์จะสนใจและสอนวิธีทำที่ถูกต้องให้ดูอยู่เรื่อยๆค่ะ อาจารย์ทำสื่อเก่งและสวยมากเลยค่ะ